10 ม.ค. 2553

สืบค้นคำ พร้อมบอกจำนวนผลลัพธ์ที่ได้

10.1 นวัตกรรม+เทคโนโลยี+สื่อการสอน
: ผลลัพธ์ที่ได้ 288,000 รายการ




10.2 นวัตกรรม+เทคโนโลยี-สื่อการสอน
: ผลลัพธ์ที่ได้ 295,000 รายการ




10.3 "ลิขสิทธิ์คอมพิวเตอร์"
: ผลลัพธ์ที่ได้ 879 รายการ




10.4 สื่อการสอนORชุดการสอนandนวัตกรรมการศึกษา
: ผลลัพธ์ที่ได้ 64,800 รายการ




* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

2 ม.ค. 2553

สื่อที่เกี่ยวข้องกับ ๙ คำพ่อสอนและธรรมะ



:: ข้อคิดจากชาดก ::

.....๑. ผู้ที่มีหน้าที่ปราบปราม นำคนผิดมาลงโทษ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ อย่าจับคนด้วยเพียงการคาดคะเน เพราะการลงโทษคนบริสุทธิ์เป็นบาปอย่างยิ่ง การปล่อยคนผิดไป ๑๐๐ คน ยังดีกว่าการลงโทษคนบริสุทธิ์เพียงคนเดียว

.....๒. คนเราควรหาโอกาส ตอบแทนคุณของผู้ที่มีพระคุณต่อเราอยู่เสมอ

.....๓. ผู้ที่รู้บุญคุณและตอบแทนบุญคุณ ย่อมไม่ถึงความตกต่ำอย่างแน่นอน

.....๔. ผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรม แม้ความตายมาถึงตัว ก็มีสติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว สามารถเผชิญความตายโดยอาจหาญ ย่อมเป็นผู้ที่ ประสบสุขได้แม้ในยามทุกข์

.....๕. พี่น้องกันนั้น ฆ่ากันไม่ตาย ขายกันไม่หมดแม้จะมีเรื่องผิดใจกันอย่างไร แต่เมื่อมีเรื่องเดือดร้อน ย่อมพึ่งพากันได้

ที่มา
http://www.kalyanamitra.org/

http://www.youtube.com/


13 ธ.ค. 2552

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาข้อความจาก Internet ที่กำหนดให้กับ 9 คำพ่อสอน

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาข้อความจาก Internet ที่กำหนดให้กับ 9 คำพ่อสอน

1. นิทานดังกล่าวข้างต้นควรตั้งชื่อว่าอะไร

ตอบ ศิษย์ดีเพราะมีครู

2. นายศิษย์เป็นคนที่มีลักษณะอย่างไรถึงชาวบ้านสรรเสริญ

ตอบ นายศิษย์เป็นผู้ที่มีความอดทน ขยันทำงาน มีความเพียรพยายาม ไม่หลงในลาภยศ วางตัวอยู่ในความพอดี คนเราไม่ได้เป็นสุขได้เพราะทรัพย์ ตำแหน่ง และสถานะเท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นคือความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิต เราสามารถกำกับชีวิตให้เป็นไปในทางที่ดีงาม เกื้อกูลก่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นได้ เหมือนการปฏิบัติตนของนายศิษย์จนในที่สุด ชาวบ้านจึงได้สรรเสริญเยินยอเขา

3. นิทานเรื่องนี้สอนอะไร ให้ใช้ตารางเปรียบเทียบวิเคราะห์กับประมวลพระบรมราโชวาท 9 คำพ่อสอน

ตอบ ตารางเปรียบเทียบวิเคราะห์กับประมวลพระบรมราโชวาท 9 คำพ่อสอน

9 คำพ่อสอน

ข้อคิดจากนิทานที่สอดคล้องกัน

1. ความเพียร การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯวันที่ 27 ตุลาคม 2516

1. ความเพียร ความเพียรเป็นบันไดขั้นสำคัญที่จะทำให้มนุษย์ก้าวสู่ความสำเร็จในชีวิตหลาย ๆ ด้าน ดังเช่นนายศิษย์ ผู้ซึ่งมีความเพียรพยายามมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย โดยไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคต่างๆ ที่มาขัดขวาง ความเพียรไม่เพียงก่อให้เกิดผลดีเฉพาะตัวของนายศิษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่นอีกมากมาย ดังนั้น ความเพียรเป็นปัจจัยสำคัญ อันเป็นเหตุแห่งความสำเร็จทุกประการ

2. ความพอดี ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540

2. ความพอดี การที่เราใช้ชีวิตอยู่ในความพอดีนั้น จะทำให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ไม่เพียงแต่ความพอดี การที่เรามีความทะเยอทะยานจะทำให้เรามีความคิดที่อยากจะนำพาชีวิตไปสู่จุดที่สูงที่สุด ดังเช่นนายศิษย์ผู้ที่วางตัวอยู่บนความพอดี ใช้ชีวิตอยู่บนความเรียบง่าย ก็ทำให้เป็นที่ยอมรับของคนอื่นได้

3. ความรู้ตน เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน

พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 2521

3. ความรู้ตน ผู้ที่มีความรู้ตน เปรียบเสมือนผู้ที่มีปัญญาอย่างแท้จริง คนที่ฝึกตัวเองให้มีปัญญาที่ดี ย่อมเป็นที่พึ่งที่ดีของตนเองได้ ดังเช่นนายศิษย์ ซึ่งเป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุมานะ ทำแต่สิ่งที่ถูกที่ควร จึงทำให้ตัวเขาเองมีแต่ความเจริญ

4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521

4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ การที่เราได้รับสิ่งต่าง ๆ มาแล้ว เราก็ต้องรู้จักให้เขากลับคืนไปด้วย ต้องมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน การที่ใช้ชีวิตในสังคมโดยไม่มีการแบ่งปันกันนั้น อาจทำให้การดำเนินชีวิตในสังคมนั้น ๆ ยากลำบากก็เป็นได้ ดังเช่นนายศิษย์ ผู้ซึ่งเขาได้รับคำสั่งสอนจากอาจารย์ เขาก็ปฏิบัติตนเป็นคนดีมาตลอด จนกระทั่งเขาประสบความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน เขาก็ยังตอบแทนบุญคุณแก่ผู้ที่มีพระคุณต่อเขา

5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496

5. อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ ความอ่อนน้อมถ่อมตนที่แสดงออกทางวาจาและท่าที เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนได้รับการสั่งสอนให้เรียนรู้ และถือเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานจนกลายเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งของความเป็นไทย ดังเช่น นายศิษย์ ที่มีกิริยาที่ดี มีความนอบน้อมถ่อมตน และเสียสละประโยชน์ของตนเองเพื่อผู้อื่น

6. พูดจริง ทำจริง ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540

6. พูดจริง ทำจริง การที่เราพูดอะไร หรือสัญญาอะไรออกไปแล้ว เราต้องปฏิบัติตามให้ได้ถ้าถ้าเราพูดแล้วไม่ทำตามที่พูด จะทำให้ผู้อื่นเสียความรู้สึกหรือผิดหวังก็เป็นได้ ดังเช่นนายศิษย์ ผู้ซึ่งให้คำสัญญากับเศรษฐีเอาไว้ แล้วตนสามารถปฏิบัติตามคำสัญญานั้นได้ ในที่สุดเขาก็ได้รับลูกสาวและสมบัติทั้งหมดของเศรษฐี

7. หนังสือเป็นออมสิน หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้ สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514

7. หนังสือเป็นออมสิน การอ่านหนังสือเป็นการสะสมความรู้ เมื่อเทียบกับการออม การออมก็เช่นกัน เป็นการสะสมเงินให้มีมากขึ้น เพื่อนำไปใช้ในยามที่จำเป็นหรือขาดแคลน ดังนั้น การอ่านหนังสือจึงเป็นประโยชน์มาก ถ้าเราอ่านมาก ก็จะยิ่งมีความรู้มาก สามารถนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ เป็นต้น

8. ความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง

พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปี พุทธศักราช 2531

8. ความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์มีหลายอย่าง เช่นความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อหน้าที่ ต่อมิตรสหาย ต่อประเทศชาติ เป็นต้น ความซื่อสัตย์ที่ดีต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน เมื่อเรามีความซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว เราก็สามารถพัฒนาไปยังด้านอื่น ๆ ได้ ดังเช่นนายศิษย์ ที่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อบุพการี และต่อผู้อื่น ทำให้เขาเป็นผู้ที่น่ายกย่อง เชิดชู

9. การเอาชนะใจตน ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ

พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม 2513

9. การเอาชนะใจตน บางครั้งการเอาชนะใจตน นับว่าเป็นเรื่องยากที่สุดก็ว่าได้ แต่การเอาชนะใจตนนั้น คนเราทุกคนสามารถปฏิบัติได้ และมันคงไม่ยากเกินความสามารถ เพียงแต่อยู่ที่ว่าเราจะทำได้ขนาดไหน ดังเช่นนายศิษย์ ถึงแม้เขาจะถูกนายสำเภาดูถูกเหยียดหยามหรือไม่เชื่อในสิ่งที่พูด เขาก็ไม่โต้เถียงแต่อย่างไร จนในที่สุดความจริงก็ได้เปิดเผยขึ้นมา โดยนายสำเภาผู้นั้นได้เห็นความจริงด้วยตาของเขาเอง และนายศิษย์ก็สามารถเอาชนะใจตนเองได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

4. ให้นิสิตค้นคว้าแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพิ่มเติม อย่างน้อย 3 แหล่งอ้างอิง พร้อมอ้างอิง เพื่อมาสนับสนุนแนวคิดของนายศิษย์

ตอบ

แหล่งอ้างอิงที่ 1 รู้จักพอ...ก่อสุข ทุกสถาน

มีคำของอี้หมิงที่กล่าวเอาไว้ว่า "สำหรับผู้ที่รู้จักพอ แม้จะยากจนข้นแค้นก็ยังมีความสุข ผู้ที่ไม่รู้จักพอแม้จะร่ำรวย มียศถาบรรดาศักดิ์ก็ยังมีความทุกข์"

หากต้องการมีความสุข จะต้องมีความพึงพอใจในสิ่งที่ตนเป็นและมีอยู่ สามารถชื่นชมกับสิ่งเล็กๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวันได้ โดยไม่คิดน้อยใจหรือคิดว่าตนเองต่ำต้อยด้อยค่า

ผู้ที่จะมีความสุขได้นั้นคือ ผู้ที่พอใจในสิ่งที่ตนเองมี ขอเพียงแต่มีความพยายามในการทำให้ประสบความสำเร็จก็เพียงพอ ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อนกับสิ่งที่ไม่สามารถจะหามาได้ และทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ไม่หวังผลเลอเลิศจนเกินความสามารถของตนเอง รู้จักกำหนดขอบเขตของความปรารถนา สิ่งใดที่ควรได้ควรมี ก็จงพยายามทำให้สำเร็จ สิ่งใดเกินกำลัง ก็จงยอมรับว่าแม้ยังไม่สามารถไขว่คว้ามาได้
ก็จะหาหนทางในคราวต่อไปเมื่อโอกาสมาถึงพร้อม และที่สำคัญก็คือ อย่าหาทุกข์ใส่ตัว ใช้ชีวิตอย่างราบเรียบสมถะ มีความขยันอดทน และไม่อายทำกิน อย่าก่อหนี้ก่อสินเพิ่มขึ้นดั่งพุทธภาษิตสอนใจให้คิดว่า
"เข้านอนโดยไม่มีอาหารค่ำ ดีกว่าตื่นขึ้นมาพร้อมกับมีหนี้สิน" เพราะการมีหนี้สินมากเกินไป อาจสร้างปัญหาในระยะยาว จนไม่อาจจะลืมตาอ้าปากได้ในโอกาสต่อไป

ที่มา : คู่มือสู้ชีวิตด้วยตนเอง ชุดที่ 4 ความสำเร็จ...เพียงแค่เอื้อม

ขอขอบคุณข้อมูลสารสนเทศดี ๆ จาก http://www.dhammajak.net/

แหล่งอ้างอิงที่ 2 ก้าวไปในทาง 8 สาย

1. สัมมาทิฏฐิ ความเข้าใจถูกต้อง คือ เข้าใจอย่างทั่วถึงว่า เหตุนั้นเป็นอย่างไร ผลอย่างหยาบ ๆ ที่ปรากฎชัด ๆ เป็นอย่างไร อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร ทั้งเหตุและผลนั้น มีลำดับอย่างไร แปลง่าย ๆ ได้ว่า ก่อนจะทำสิ่งใด พูดสิ่งใด ให้ใช้ความคิดที่เป็นสัมมา คือถูกต้อง รู้แจ้งแทงตลอดเป็นตัวนำ เพื่อไตร่ตรองว่าหากพูด (ซึ่งเป็นเหตุ) ออกไป จะให้ผลอย่างไร เพื่อจะได้รู้ว่าควรพูดหรือไม่ควรพูดอย่างไร เช่นเดียวกับการกระทำทั้งหลาย หากมีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ ก็จะทำให้รู้ได้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ และควรทำแค่ไหน ควรทำอย่างไร หรือควรจะงดเว้นเสียโดยการคิดนั้นต้องคิดด้วยปัญญา คือรู้แจ้งแทงตลอดอย่างปลอดโปร่ง ไม่ใช่ด้วยอวิชชา คือรู้แจ้งแทงตลอดด้วยความมืดบอดเพราะโทสะหรือความเชื่อมั่นลำพอง หรือเพราะไม่รู้แต่ก็อยากจะอวดรู้ บางคนพูดก็ไม่คิด ทำก็ไม่คิด พูดไปแล้วถึงเพิ่งมาคิด ทำจนเกิดผลไปแล้วจึงค่อยมารู้สึกนึกคิดว่าไม่ควรทำ เช่นนั้นก็สายเกินไปเสมอ

2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง คือ ไม่ใฝ่ใจกระทำสิ่งที่จะนำความมืดมนมาสู่ชีวิต ยังปัญญาให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป และเดินให้ไกลจากความขุ่นแค้น ซึ่งเมตตากับกรุณา คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้ดี มีความสุข และยินดีในความเจริญของเขาจะเป็นแรงขับดันที่สำคัญ ต้องดำเนินชีวิตทุกวันด้วยใจที่ปลอดจากความโลภ ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยากต่าง ๆ ปราศจากความเห็นแก่ตัวด้วยการคิดเสียสละ ไม่พยาบาท ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้ายต่าง ๆ แต่มีเมตตา คือปรารถนาดี มีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข ไม่มีการคิดทำร้ายหรือทำลาย ทว่าคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์

3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งประกอบไปด้วย ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐานควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน จงสมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ด้วยการกล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหูชวนให้รักจับใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร

4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเองและผู้อื่น ไม่อ่อนข้อต่อการกระทำที่จะเป็นโทษทั้งหลาย ซึ่งหลายคนรู้ทั้งรู้ว่าสูบบุหรี่เป็นโทษ ดื่มสุราเป็นโทษ เครียดเป็นโทษ ฯลฯ ก็ยังอ่อนข้อหรือ "หยวน" แล้วก็ทำ

5. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง ประกอบกิจการงานที่ถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเองและผู้อื่น

6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง คือใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังเข้าสู่ความเสื่อม

7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญา มีสติระลึกอยู่เป็นนิจว่า เราจะกระทำอะไรและกำลังทำอะไรอยู่ ไม่เป็นคนเผลอการ ไม่เผลอหรือการรู้ตัวอยู่เป็นนิจ เป็นทางให้หลีกได้จากการกระทำความชั่ว โดยต้องระลึกได้ยามรู้สึกสบายหรือไม่สบาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉย ๆ ระลึกได้ว่าจิตกำลังเศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในจิตใจ การระลึกรู้ได้จะทำให้เราเท่า ทันอารมณ์ ไม่อ่อนคล้อยตามอารมณ์ และกระทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำออกไป

8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่ ความมีสมาธิ สงบนิ่งอยู่ในสิ่งที่ถูก ไม่วอกแวกวอแว เยือกเย็น สุขุม สำรวม

ที่มา : FIRST

ขอขอบคุณข้อมูลสารสนเทศดี ๆ จาก http://www.satapornbooks.com/

แหล่งอ้างอิงที่ 3 จงทำในสิ่งที่ถูกต้อง..แต่จงอย่าทำในสิ่งที่ถูกใจ

ทำดีก็ทำได้ง่ายนิดเดียวเสี้ยวนาทีเกิดบารมีที่บริสุทธิ์ บารมีที่บริสุทธิ์ย่อมได้มาจากผลของการกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง

คน คือ ทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุด ในสมันก่อนคนโบราณถึงคนยุคไฮเทคมักจะคิดว่าทรัพย์สินเงินทองคือ สิ่งที่มีค่ามากที่สุด หลายคนตั้งแต่สมัยกรีกและโรมันมาแล้วพยายามแสวงหาเงินทองให้มากที่สุด เพราะต่างก็เห็นว่าเงินทองนั้นสามารถทำให้มีอำนาจเหนือผู้อื่นได้

ปัจจุบันก็มีคนคิดอย่างเดิม ทั้งนี้เนื่องมาจาก หลายมองเห็นคุณประโยชน์ของเงิน เงินสามารถซื้อหาทุกสิ่งตามที่ต้องการได้ เงินสามารถทำให้มีความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต ทว่าบุคคลที่คิดว่าเงินว่าเงินทองนั้นมีคุณค่ามากที่สุดนั้นคิดผิด พวกเขามองข้ามสิ่งสำคัญหนึ่งไปหมด และนั่นก็คือ หากบุคคลคลใดบุคคลหนึ่งไม่มีความสามารถแล้ว เขาก็ไม่มีวันที่จะทำงานหาเงินที่ต้องการได้

ศักยภาพของคนเรานั้นมีมากกว่าที่ตัวเองคาดคิด เว้นเสียแต่เราค้นพบขีดความสามารถในตัวเองเสียก่อนเท่านั้น เราจึงจะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง เพียบพร้อมด้วยความมั่นใจ เมื่อทำเช่นนั้นได้ เราก็จะเป็นคนที่มีค่ามากต่อตัวเอง ต่อครอบครัว และต่อองค์การหรือหน่วยงานที่เราทำงานด้วย

คนสามารถทำได้ทุกอย่างหรือจะเรียกว่า "ไม่มีอะไรที่คนทำไม่ได้" หากคน ๆ นั้นตั้งใจอย่างแน่วแน่ เพราะขีดความสามารถของคนเรานั้นมีสูงมาก แต่เราจะใช้ความสามารถของเรามากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้

- ความปรารถนาในใจ

- ความเชื่อมั่นในตนเอง

- ความเพียรพยายาม และ

- ความสามารถของเรา

ใครก็ตามที่เป็นนักบริหารระดับสูง ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจมนุษย์เสียก่อน และมนุษย์ที่จะต้องเข้าใจเป็นอันดับแรกคือ ตัวเขาเอง และที่ควรจะรู้และเข้าใจอย่างแน่ชัดในขั้นนี้ก็คือ "ไม่ว่าคุณจะมีความสามารถสูงเพียงใด หากคุณขาดความคิดที่ดี ขาดการที่จะทำดี ขาดการที่จะพูดดี ขาดความปรารถนา ความเชื่อมั่นในตน และความเพียรพยายามแล้ว คุณไม่มีวันที่จะเป็นนักบริหารที่ดีได้ ไม่ว่าจะระดับใดทั้งนั้น"

คนที่หลงตัวเอง บางครั้งคนเราก็ทำร้ายตัวเองอยู่บ่อย ๆ โดยอาจทำทั้งที่รู้ ๆ หรือไม่ก็อาจทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึง การณ์ คนบางคนประสบความสำเร็จเป็นผู้บริหารระดับล่างมาก่อน แน่นอนเขามีขีดความสามารถสูงมาก สามารถบริหารงานในแผนกเล็ก ๆ ที่รับผิดชอบนั้นได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งผู้บริหารระดับสูงเชื่อมือ เลื่อนตำแหน่งหน้าที่ของเขาให้สูงขึ้นไปอีก ในตอนนี้นี่เอง ความหลงตัวเอง ความเชื่อมั่นในตัวเองสูงเกินไปก็ทำให้เขาพลาด บุคคลคนนี้ใหม่ต่อแผนกที่เขาเข้าไปควบคุม ไม่เคยคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร ไม่ยอมนั่งลงศึกษางานใหม่อย่างละเอียด ไม่เคยปรึกษาผู้ช่วยฯ ผลก็คือการตัดสินใจของเขาผิดพลาดเกือบหมด

การที่จะก้าวไปสู่ตำแหน่งสูงและอยู่ในตำแหน่งสูงได้นานนั้น เราจะต้องไม่หลงลาภยศสรรเสริญ บารมี ไม่หลงตัวเอง หรือมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงเกินไป เมื่อทำงานที่ไหน ๆ ก็ตาม จงถือว่างานนั้นคืองานของตัวเอง หากคิดใคร่ควรให้ดีแล้ว คำพูดประโยคนี้มีความหมายมากเหลือเกิน เพราะมันคือคำพูดที่บอกให้เราทำทุกอย่างจนสุดความสามารถ

คนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองเท่านั้น คือคนที่จะก้าวหน้าในแวดวงธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงในปัจจุบันนี้ ความสำเร็จในทุกด้านนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของคนเรา หลายคนต้องล้มเหลวในงานที่เขาทำ เนื่องจากไม่มีความมั่นใจแล้วสิ่งที่ตามมาก็คือ ความลังเลใจ ความลังเลใจคือ ศัตรูตัวฉกาจของงาน

จงอย่าคิดถึงเรื่องต่าง ๆ ในทางลบ หรือทางไม่ดี เพราะหากคุณคิดแต่ในเรื่องไม่ดี แน่นอนผลก็คือ ความล้มเหลว และความล้มเหลวนั้นก็จะทำให้คุณขาดความมั่นใจ คุณจะต้องควบคุมความคิดของคุณให้ดีจงคิดแต่ทางที่ดีที่สร้างสรรค์ คิดอยู่เสมอว่า การทำในสิ่งที่ถูกต้องย่อมเพิ่มเสริมบารมีในตัวของมันเอง ไม่มีใครจะมาทำลายได้

ที่มา : Wanlop

ขอขอบคุณข้อมูลสารสนเทศดี ๆ จาก http://www.gotoknow.org/

5. ให้นิสิตค้นคว้าบทความจาก Internet ที่เกี่ยวกับ 9 คำพ่อสอน 5 บทความพร้อมแหล่งอ้างอิง

ตอบ

บทความที่ 1 บทความเรื่อง "พ่อสอนลูก"

มีพ่ออยู่คนหนึ่งได้ต้นเชอรี่พันธุ์ดีมา ก็เอามาปลูกไว้ที่บ้าน และสั่งให้ทุกคนในบ้าน ช่วยกันดูแล เพื่อว่าเมื่อต้นเชอรี่โตขึ้นทุกคนจะได้กินผลที่อร่อยจากต้นเชอรี่ พันธุ์ดีนี้ และคุณพ่อเองก็เฝ้ารดน้ำ ใส่ปุ๋ย
ดูแลมันอย่างดีเป็นเชอรี่ต้นโปรดของคุณพ่อทีเดียว

อยู่มาวันหนึ่งขณะที่คุณพ่อออกไปทำงาน ลูกชายชื่อจอร์จซึ่งได้ขวานเล็กๆ อันใหม่มา ด้วยความซน
ก็ฟันนู่นฟันนี่ แล้วก็ไปโดนต้นเชอรี่แสนรักของคุณพ่อเข้า ต้นเชอรี่ค่อยๆ เอนตัวแล้วก็ล้มลงกับพื้น เหลือแต่ตอที่อยู่เหนือพื้นดินมาไม่กี่นิ้ว เมื่อคุณพ่อกลับมาถึงบ้านเห็นต้นเชอรี่แสนรักในสภาพอย่างนั้น ก็ตกใจมาก เรียกทุกคนในบ้านมาถามก็ไม่มีใครทราบ จนคุณพ่อนึกถึงลูกชายคนนี้ก็ตะโกนเรียก ด้วยเสียงอันดังว่า
"จอร์จ มานี่ซิ" จอร์จก็เดินออกมาหาคุณพ่อ คุณพ่อได้ถามจอร์จว่า "จอร์จ ลูกรู้ไหมว่าทำไมต้นเชอรี่ถึงเป็นแบบนี้" จอร์จก้มหน้าแต่ในที่สุดก็เงยหน้าขึ้นตอบคุณพ่อว่า "ผมไม่กล้าโกหกคุณพ่อหรอกครับ ผมเป็นคนเอาขวานฟันต้นเชอรี่นี้เอง" คุณพ่อบอกจอร์จว่า "เข้าไปรอพ่อในบ้าน"

จอร์จเดินเข้าไปรอคุณพ่อในห้องของเขา เวลาผ่านไปพักใหญ่ๆ คุณพ่อก็เข้ามาในห้อง และถามจอร์จว่า "ทำไมลูกถึงตัดต้นเชอรี่ ที่อีกหน่อยทุกคนในบ้านจะได้กินผลจากมันล่ะ" จอร์จตอบคุณพ่อว่า "ผมไม่ได้ตั้งใจครับ ผมทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผมเอง" แล้วจอร์จก็ก้มหน้าลง หน้าแดงด้วยความละอาย

แล้วก็ได้ยินเสียงคุณพ่อพูดว่า "จอร์จ ลูกดูหน้าพ่อซิ ถึงพ่อจะรู้สึกเสียใจที่ต้นเชอรี่ที่พ่อรักถูกโค่นไป แต่พ่อก็ดีใจยิ่งกว่าที่ลูกของพ่อซื่อสัตย์ และกล้าหาญที่ยอมรับในการกระทำของตัวเอง ถ้าไม่มีสิ่งนี้ ถึงแม้จะมีเชอรี่พันธุ์ดีเต็มสวนก็ไม่มีประโยชน์อะไร"

จอร์จจดจำเรื่องราวเหล่านี้ และใช้ความกล้าหาญและซื่อสัตย์ตลอดมาจนกระทั่งในการดำรงฐานะเป็นประธานาธิบดี "จอร์จ วอชิงตัน"

ที่มา : ไทยมุงดอทคอม

ขอขอบคุณข้อมูลสารสนเทศดี ๆ จาก http://www.pattanakit.net/

บทความที่ 2 บทความเรื่อง ความพอดี

คนหลายคนไม่รู้จักความพอดี จึงมักทำอะไรที่ขาดๆ เกินๆ ไม่ปกติอยู่เสมอ ตื่นตัวจนน่าตกใจหรือไม่ก็เกียจคร้าน ไม่ดูดำดูดีไปเลย หาตรงกลางไม่ได้ พูดมากจนน่ารำคาญ พูดทุกอย่างที่รู้สึกโดยไม่ต้องใช้การคิดหรือการไตร่ตรองเป็นตัวกรองให้ เหมาะสมว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ควรพูดอย่างไร ควรพูดแค่ไหน ควรพูดเมื่อไหร่

เอาเรื่องบางเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นธุระมาเป็นธุระ แล้วก็ทอดธุระในเรื่องสำคัญๆ ไปโดยไม่รู้สึกรู้สม เขาไม่เคยแยกได้ว่าตรงไหนคือระดับของความเหมาะสม ซึ่งหมายถึงเหมาะสมสำหรับตัวเองและเหมาะสมสำหรับผู้อื่นด้วย นั่นไม่ต้องรวมถึงกาลเทศะ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งของการขัดเกลามนุษย์ ให้รู้จักความเหมาะความควร

หินกลายเป็นเพชรเมื่อเจียระไน

คนหายจัญไร...เมื่อถูกขัดเกลา!

เพชร พลอย และอัญมณีมีค่าหลายอย่าง แท้จริงก็เป็นแค่หิน จมอยู่ในดินอาจไม่มีใครรู้ค่า แต่เมื่อมาขัดมาล้าง และถูกเจียระไน ค่าของมันก็ทวีสูงขึ้น เพราะความงามของมันจะกระจ่างสายตา เมื่อได้เห็นก็ต้องการได้ครอง จึงเป็นที่ต้องการของใครต่อใคร

เช่น เดียวกับคน... คนที่มีกิริยามารยาท รู้จักพูด รู้จักคิด รู้จักทำเท่าที่เหมาะสม ก็มักจะเป็นที่รักของใครต่อใคร และช่วยสานประโยชน์ให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นมาได้มาก ค่าของคนประการหนึ่งดูได้จากการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นได้ว่า เขาได้รับการขัดเกลามาบ้างหรือไม่ เป็นคนหยาบหรือคนละเอียด สุกหรือดิบ

ข้าว สุกที่หอม ฟู นุ่ม น่ารับประทาน สะท้อนฝีมือคนหุงและพันธุ์ข้าวฉันใด กิริยามารยาทของลูกหลาน ก็สะท้อนฝีมือการอบรมขัดเกลาของพ่อแม่และครอบครัวฉันนั้น

การขัดเกลาไม่สามารถทำได้เพียงวันสองวัน แต่เป็นสิ่งที่ต้องอบรมกันวันละเล็กละน้อย เพื่อค่อยๆ เกลาสิ่งที่เกินและเติมสิ่งที่พร่อง จนกว่าจะได้ระดับของความพอเหมาะพอดี

ในทางพระพุทธศาสนา ให้หลักหรือ "ทาง" ที่จะเดินสู่ความพอดี เป็นแนวทางของการอบรมขัดเกลา ทางกาย วาจา และใจ ให้ละเอียดอ่อน งดงาม นั่นคือ อัฏฐังคิกมรรค หรือมรรค 8

มรรค 8 : ทางสู่ความพอดี มรรค 8 หรืออัฏฐังคิกมรรค หรืออริยมรรค มัชฌิมาปฏิปทา ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ ทางสายกลาง คือแนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา และใจ ที่ควรดำเนินไป เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจความอยาก แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขเป็น "มัชฌิมาปฏิปทา" คือทางสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะ ดั่งสายของเครื่องดนตรีที่เทียบเสียงไว้ได้ที่แล้ว

ที่เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" นั้น หมายความว่าจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็เมื่อพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่าง ดุจเชือกที่ฟั่นแปดเกลียว

ที่มา : FIRST MAGAZINE ONLINE

ขอขอบคุณข้อมูลสารสนเทศดี ๆ จาก http://hilight.kapook.com/

บทความที่ 3 บทความเรื่อง ปฏิบัติต่อความโกรธด้วยความอ่อนโยน”

นี่ไม่ใช่การเก็บกดหรือการต่อสู้ ทว่าเป็นการรับรู้ เวลาที่รับรู้โทสะ เราจะโอบกอดมันไว้ด้วยความระลึกรู้ ด้วยความอ่อนโยนอย่างยิ่งยวด

สติไม่ได้มีไว้เพื่อต่อสู้กับความโกรธหรือความสิ้นหวัง หากมีไว้เพื่อรับรู้ การมีสติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็คือ
การรับรู้ว่า มีบางสิ่งบางอย่างดำรงอยู่ที่นั่นในปัจจุบันขณะ

สติ คือ ความสามารถที่จะตระหนักรู้ว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นในชั่วขณะนั้น "หายใจเข้า ฉันรู้ว่าความโกรธเกิดขึ้นกับฉัน หายใจออก ฉันยิ้มให้กับความโกรธ" นี่ไม่ใช่การเก็บกดหรือการต่อสู้ ทว่าเป็นการรับรู้ เวลาที่รับรู้โทสะ เราจะโอบกอดมันไว้ด้วยความระลึกรู้ด้วยความอ่อนโยนอย่างยิ่งยวด

หากห้องของเธอเย็น แล้วเธอเปิดเครื่องทำความร้อน เครื่องก็จะเริ่มปล่อยกระแสลมร้อนออกมา อากาศเย็นไม่ต้องออกไปจากห้องเพื่อให้อบอุ่นขึ้น ทว่ามันจะถูกลมร้อนเข้าโอบล้อมจนอุ่น ไม่มีการต่อสู้ปะทะกัน เราเอาใจใส่ดูแลความโกรธด้วยวิธีเดียวกัน สติจะรับรู้ความโกรธ ตระหนักรู้ถึงการเกิดขึ้นของมัน ยอมรับและปล่อยให้มันอยู่ตรงนั้น

สติเปรียบเสมือนพี่ชายคนโต ที่ไม่ได้กดข่มความทุกข์ของน้องชายไว้ หากจะบอกว่า "น้องรัก พี่อยู่เคียงข้างน้องที่นี่แล้ว" เธอจะอุ้มน้องไว้ แล้วปลอบประโลม นี่คือวิธีที่เราปฏิบัติจริงๆ

ลองนึกถึงแม่ที่กำลังโมโหลูกน้อย และตีลูกเวลาที่เขาร้องไห้ "แม่คนนี้ ไม่รู้ว่าตัวเองและลูกคือคนคนเดียวกัน" เราเป็นแม่ของโทสะในตัวเราเอง และเราต้องช่วยเหลือลูกน้อยหรือความโกรธของตัวเอง ไม่ใช่ต่อสู้ฟาดฟันมัน"

ความโกรธก็คือตัวเรา และความกรุณาก็คือตัวเราด้วย "การทำสมาธิ ไม่ได้หมายถึง การต่อสู้ การปฏิบัติ สมาธิควรเป็นไปเพื่อ การยอมรับและการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่การห้ำหั่น

ที่มา : บ้านใส่ใจ

ขอขอบคุณข้อมูลสารสนเทศดี ๆ จาก http://www.carefor.org/

บทความที่ 4 บทความเรื่องชนะอะไรก็ไม่สู้ชนะใจตัวเอง..จริงไหมคะ?”

เคยเป็นไหมคะ บางครั้งเราต้องฝืนใจตัวเองทำอะไร หรือฝืนใจตัวเอง ไม่ให้คิดอะไร เพราะว่าหลายๆสิ่งที่เราคิด และกระทำตามหัวใจที่สั่งงานนั้นมันผิดต่อศีลธรรม มันผิดต่อความเป็นจริงๆ และที่สำคัญ มันกลายเป็นเรื่องที่บั่นทอดความรู้สึกของตัวเอง มันเป็นอาวุธ หรือเข็มเล็กๆ แหลมๆ ที่คอยทิ่มแทงความคิด จิตใจของเราตลอดเวลา

มีหลายครั้ง ที่เราพยายามไม่คิด ไม่สนใจ แต่ครั้น เราว่าง เจ้าความคิดที่เราไม่อยากนึกถึง ก็แล่นเข้ามาในหัวสมอง โดยไม่ต้องบังคับ หรือนั่งนึกแต่อย่างใด มันเหมือนศัตรูร้ายของหัวใจ มันเหมือนวิญญาณร้ายที่คอยตามมาหลอกหลอนชีวิตเรา ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ทำให้อะไรหลายๆอย่างในชีวิต เปลี่ยนเป็นไปในแง่ลบมากกว่าแง่บวก

ครั้นคุณพยายาม ที่จะเขี่ยความคิดที่เกิดจากจิตใจนี้ ออกไปจากหัวสมองให้เร็วที่สุด มันก็กลับกลายเป็นว่า เป็นเรื่องยากเย็นมาก ยิ่งเราต้องการจะหยุดความคิดต่างๆออกไปเร็วเท่าใด มันก็ยิ่งใช้เวลานานมากเท่านั้น และมันก็จะทรมานมากขึ้น เมื่อเจ้าความคิดนั้นไม่ยอมออกไปจากตัวของเรา มันคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะทำ แต่มันไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับตัวของคุณเพียงผู้เดียว คนอื่น ๆ ที่อยู่รอบข้างตัวคุณเป็นเพียงแค่องค์ประกอบ เขาเหล่านั้นเป็นแค่ผู้ช่วยของคุณ แต่ถ้าคุณไม่
คิดจะทำอะไรเลยกับความคิดที่มันบั่นทอดความรู้สึกของคุณนั้น เขาเหล่านั้นก็คงจะช่วยอะไรคุณไม่ได้มากไปกว่าให้กำลังใจ และรับฟังเมื่อคุณคิดที่จะระบายให้เขาฟัง แต่ถ้าคุณคิดว่ามันเป็นอะไรที่บอกใครไม่ได้ เขาเหล่านั้นก็คงทำได้แค่เพียง หยิบยื่นกำลังใจให้คุณได้ต่อสู้กับใจของคุณ เป็นกำลังให้คุณได้ขับไล่ปีศาจออกไปจากใจคุณให้ได้เร็ววันเท่านั้น

คุณว่าไหม จริง ๆ แล้วมันทำไม่ยากเลย เพราะว่าถ้าพูดไปแล้ว มันก็คือการที่คุณจะต้องบังคับตัวคุณ และเอาชนะจิตใจคุณที่มันกำลังจะทำให้คุณอยู่เหนือความผิดชอบชั่วดี แต่กระนั้นก็ดี การพูดจาทำได้ง่ายดายนัก แต่ถ้ามามองกันที่การกระทำเล่า? มันไม่ได้ง่ายเหมือนที่พูดออกมาเลย

การที่เราจะเอาชนะใจใครมันเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากนัก แต่การที่จะเอาชนะใจของตัวคุณเองนี่สิ มันเป็นเรื่องยากนัก แต่เมื่อไรที่คุณทำมันได้ คุณจะเป็นผู้ที่ถูกยกย่อง และตัวของคุณเองนั้นแหละ ที่จะได้รับผลที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด คุณจะรู้สึกว่าโล่งใจ และสบายใจ อะไรๆในชีวิตก็จะดีขึ้น เพราะคุณได้ขับไล่
เจ้าปีศาจชั่วร้ายออกไปจากชีวิตของคุณแล้ว

ฉันเชื่อว่าทุกคน ไม่อยากที่จะพ่ายแพ้แก่ใจของตัวเอง เมื่อคุณได้รับรู้ว่าจิตใจของคุณกำลังคิด พยายามสั่งให้ทำอะไรที่มันเป็นไปไม่ได้ หรือได้ชื่อว่าเป็นสิ่งผิดแล้ว คุณคงไม่ปล่อยให้จิตใจนั้นมาครอบงำคุณ คุณคงไม่ยอมให้ปีศาจร้ายมาเป็นนายคุณแน่นอน

ฉันเชื่อว่าทุก ๆ คนต้องการที่จะขับไล่สิ่งชั่วร้าย ที่บั่นทอดจิตใจของคุณออกไป และมันไม่ใช่สิ่งง่าย แต่ถ้าคุณตั้งใจที่จะทำแล้วไม่ท้อแท้ ฉันเชื่อว่า สักวันหนึ่ง คุณจะเป็นผู้ชนะ แล้วการที่คุณเอาชนะใจของตัวคุณเองได้นั้น เป็นการชนะที่ถือว่าสุดยอด แห่งการอยู่รอดของมนุษย์แน่นอน เพราะชีวิตของทุกคนถูกกำหนดด้วยมือของคุณเอง การที่ชีวิตเราจะมีสิ่งดี ๆ หรือสิ่งร้าย ๆ เข้ามามากน้อยเพียงใดนั้น คุณนั้นแหละเป็นผู้เลือก คงไม่มีใครที่ไหนที่สามารถมาบังคับให้คุณดีใจ หรือเสียใจได้

เมื่อคุณรู้แล้วว่า ตัวของคุณเองเป็นผู้บงการชีวิตแล้ว มันก็คงไม่ยากจนเกินไปที่คุณจะทำอะไร ๆ ที่ดี ๆ ให้กับตัวของคุณเอง ฉันขอให้ทุก ๆ คนที่ตั้งใจและกำลังเอาชนะใจของตัวเอง เพื่อนำสิ่งที่ดี ๆ เข้ามาสู่ชีวิตทุกคน จงประสบกับคำว่าสำเร็จ ขอให้คุณพยายามต่อไป ถึงมันจะยากเย็นสักเพียงใด แต่ขอให้คุณจงจำไว้ว่า ไม่มีอะไรยากเกินถ้าเราตั้งใจที่จะทำมันจริง ๆ และถ้าหากว่าคุณเอาชนะใจของคุณเองได้ ชีวิตของคุณก็ได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้วทีเดียว เพราะในอนาคตไม่ว่าคุณจะทำอะไรใด ๆ คุณจะทำมันได้อย่างง่ายดาย เพราะคุณได้เคยกระทำสิ่งที่ถือว่ายากมากสำหรับมนุษย์โลกมาแล้วครั้งหนึ่ง นั้นคือ การชนะใจของตนเอง

ลองคิดดูสิค่ะ ว่าคุณจะรู้สึกดีแค่ไหน เมื่อคุณรู้ว่า ชนะใจคนที่คุณคิดว่าเอาชนะได้ยากที่สุดในโลกแล้ว นั้นคือ ตัวเองคุณเอง ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คนได้รับรู้ถึงความรู้สึกตรงนั้นได้เร็ว ๆ วันนี้ค่ะ จงพยายามต่อไปนะค่ะอย่าท้อถอย สักวันหนึ่งมันจะต้องเป็นวันของเราอย่างแน่นอน ดิฉันเชื่อว่าอย่างนั้น

ที่มา : ครูรัชนี คุณานุวัฒน์

ขอขอบคุณข้อมูลสารสนเทศดี ๆ จาก http://www.geocities.com/

บทความที่ 5 บทความเรื่องหมดหวัง..ท้อแท้ในชีวิต..คิดอย่างไรให้ใจสู้

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาของชีวิต หลายคนคงผ่านบทเรียนแห่งชีวิตมานับไม่ถ้วน ทั้งบทเรียนแห่งความผิดหวัง บทเรียนแห่งความท้อแท้ แพ้ชีวิต บทเรียนแห่งความสำเร็จ

ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนใด ๆ ก็ตาม เมื่อเราเกิดความผิดหวัง ท้อแท้ในชีวิต เราต้องพยายามปรับใจ วางใจให้ถูก ด้วยวิธีการคิดที่จะปรับเปลี่ยนชีวิตของเราให้มีกำลังใจสู้ต่อไป

ขอแนะนำ 4 วิธีคิดที่จะสร้างพลังใจให้สู้ คือ

วิธีที่ 1 คิดแบบตรงกันข้ามกับความรู้สึกในขณะนั้น เช่น

- ถ้าทุกข์ ก็คิดสร้างสุข
- ถ้ายากก็คิดแบบง่าย
- ถ้าเกิดปัญหา ก็คิดแก้ปัญหา

วิธีที่ 2 คิดแบบสร้างกำลังใจ เช่น

- ปลุกปลอบใจตนเอง ทุกครั้งที่เกิดความท้อแท้ ผิดหวัง
- บอกตนเองเสมอว่า เราต้องทำได้ เราต้องทำได้อย่างแน่นอน
- เราต้องทำได้แน่นอนที่สุด ไม่มีคำว่า ทำไม่ได้
- ท่องไว้ในใจว่า ไม่มี ไม่เป็น ไม่เหนื่อย
- ไม่ทุกข์ ไม่ท้อ ไม่หนี ไม่มีปัญหา

วิธีที่ 3 คิดแบบมีเป้าหมายในชีวิตที่แน่นอน มุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว

- หากยังไม่ประสบความสำเร็จ
- ก็จะไม่เลิก ลด ละ ความเพียรพยายาม
- จงสู้ต่อไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จ
- แม้จะเป็นวินาทีสุดท้ายของลมหายใจก็ตาม

วิธีที่ 4 คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก

- มองปัญหาออก แก้ปัญหาเป็น
- คิดการใหญ่ ใช้คนเป็น รู้เห็นตามความถูกต้อง
- มุ่งปรองดอง รักษาน้ำใจ สร้างมิตรภาพ
- อย่าลืมว่า ยิ่งสูงยิ่งหนาว
- ต้องคิดดี ทำดี พูดดี ทุกที่ทุกเวลา

ดังนั้น ถ้าท้อแท้ หมดหวังในชีวิต จงพยายามคิดให้ใจสู้ อย่าเชื่อว่าเราทำไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ลงมือทำ อย่าท้อแท้ ตราบใดที่เรายังไม่ได้พยายาม อย่าสิ้นหวัง ตราบใดที่เรายังมีกำลังใจ อย่าแพ้ชีวิต ตราบใดที่ใจของเรายังมีหวัง จงอย่าทำลายความหวัง เพียงเพราะการดูหมิ่นตนเองว่า ทำไม่ได้

ที่มา : ชายน้อย

ขอขอบคุณข้อมูลสารสนเทศดี ๆ จาก http://www.kroobannok.com/